องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
      การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง  ได้แก่
     1. ผู้ส่ง (Sender)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message)เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
     2. ผู้รับ (Receiver)เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่นผู้ฟัง
     3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางสื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสงหรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศเช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
     4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้
         4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
         4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
         4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
         4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
         4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
      5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่องโดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้
ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
- ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
- ช่วยลดต้นทุน
- เพิ่มความสะดวกในการสื่อสาร
- ความน่าเชื่อถือและความปลอดถัย

ระบบเครือข่ายในชีวิตประจำวัน
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ปัจจุบันได้นำเข้าไปประยุกใช้ในงานด้านต่างๆ
งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอก ผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิตและการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่นโรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้น
งานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้นงานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้
ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมสถาปนิกและวิศวกร สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริงรวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่นคนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการมีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ ,กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่าย Internet เพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ กรมสรรพากรใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด
ที่มา : http://www.learners.in.th/blog/verdant/468415
http://portal.in.th/eleccom41/pages/6063/
http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/network/net_datacom2.htm
http://www.chakkham.ac.th/technology/network/datacommu.html
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความหมายและพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูล
มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ใบงานที่ 2.1 เรื่อง องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
เนื้อหา/บทเรียน
จัดทำโดย  นางศิริรัตน์  พิมณาคุณ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ  โรงเรียนคอนสารวิทยาคม อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ สพม.30   E-mail : kroorungs@gmail.com
ทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่อง การสื่อสารข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (ง22101)    
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี